1) การคมนาคมขนส่ง
จังหวัดสุพรรณบุรีมีเส้นทางคมนาคมได้ 3 ทาง คือทางรถยนต์ ทางรถไฟและทางเรือ
โดยระบบการคมนาคมทางรถยนต์เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและมีการนิยมใช้มากที่สุด โดยมีเส้นทางติดต่อระหว่างจังหวัดและระหว่างจังหวัดกับอำเภอ
สำหรับเส้นทางคมนาคมภายในจังหวัดที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอต่าง ๆ มีทั้งคอนกรีต และถนนลาดยางแอสฟัสต์ติก ระยะทางจากอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถึงอำเภอต่าง
1. อำเภอบางปลาม้าระยะทาง 10กิโลเมต 2. อำเภอศรีประจันต์ระยะทาง 20กิโลเมต 3. อำเภอดอนเจดีย์ระยะทาง 31กิโลเมต 4. อำเภออู่ทองระยะทาง 32กิโลเมต 5. อำเภอสามชุกระยะทาง 39กิโลเมต 6. อำเภอเดิมบางนางบวชระยะทาง 54กิโลเมต 7. อำเภอหนองหญ้าไซระยะทาง 58กิโลเมต 8. อำเภอสองพี่น้องระยะทาง 35กิโลเมต 9. อำเภอด่านช้างระยะทาง 77กิโลเมต
เส้นทางคมนาคมติดต่อจังหวัดใกล้เคียงและ กรุงเทพมหานคร ดังนี้
ทางหลวงแผ่นดิน
ระยะทาง (กม.)
1. สุพรรณบุรี - บางบัวทอง-กรุงเทพฯ 107
2. สุพรรณบุรี – กำแพงแสน –นครปฐม – กรุงเทพฯ 160
3. สุพรรณบุรี – นครปฐม 105
4. สุพรรณบุรี – กาญจนบุรี 91
5. สุพรรณบุรี – นครสวรรค์ 160
6. สุพรรณบุรี – พระนครศรีอยุธยา 68
7. สุพรรณบุรี - สิงห์บุรี 84
8. สุพรรณบุรี – ชัยนาท 96
9. สุพรรณบุรี – อ่างทอง 44
10. สุพรรณบุรี – โคกสำเริง 143
การคมนาคมทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการรถไฟ โดยสารสำหรับการเดินทางและขนส่งสิ่งของระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรี –นครปฐม–กรุงเทพฯ วันละ 2 เที่ยว ได้แก่รถไฟสายสุพรรณบุรี – หัวลำโพง ซึ่งมีระยะทาง 142 กม. จำนวน 1 เที่ยว /วัน ออกจากต้น สถานีวัดป่าเลไลยก์ เวลา 05.19 น. ผ่านอำเภอสองพี่น้อง บางปลาม้า จังหวัดนครปฐม ถึงปลายทางที่ สถานีหัวลำโพง กรุงเทพฯ เวลา 08.20 น. เที่ยวกลับสายหัวลำโพง – สุพรรณบุรี จำนวน 1 เที่ยว /วัน ออกจากต้นทางสถานีหัวลำโพงเวลา 16.40 น. ถึงสถานีวัดป่าเลไลยก์เวลา 19.20 น. การคมนาคมทางน้ำ อาศัยทางน้ำเพื่อเดินทางและขนถ่ายสินค้า
- แม่น้ำท่าจีน เป็นทางเดินเรือหลักของจังหวัด สามารถติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต จังหวัดชัยนาท ลงมาถึงเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และเลยผ่านไปถึงจังหวัดนครปฐม
- คลองบางยี่หนและคลองเจ้าเจ็ด เป็นคลองที่แยกออกจากแม่น้ำท่าจีนที่อำเภอบางปลาม้าสามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอบางปลาม้ากับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- คลองบางลี่ สามารถติดต่อกับท้องที่ต่าง ๆ ในเขตอำเภอสองพี่น้องไปจนถึงแม่น้ำท่าจีนที่บ้านไผ่ตาแบ้ ใกล้กับเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- แม่น้ำท่าคอยและแม่น้ำท่าว้า สามารถติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ที่ลำน้ำผ่านโดยเริ่มจากบ้านคลองขอม ลงมาจนถึงบ้านสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
2) ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี มีที่ทำการ 3 แห่ง ได้แก่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภออู่ทอง ให้บริการด้านกระแสไฟฟ้า ได้เกือบครบทุกหมู่บ้านแล้ว ซึ่งได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าไปยังหมู่บ้านต่าง ๆจำนวน 980 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 94.80 ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัยรองลงมาได้แก่ ประเภทธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และกิจการขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ในปีงบประมาณ 2552 จังหวัด สุพรรณบุรี มีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น 8547.15 (1,000,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง) มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 215,482 ราย
3) ระบบประปา การประปาในจังหวัดสุพรรณบุรีได้ตอบสนองความต้องการของประชาชน สำหรับอุปโภคบริโภคได้กว้างขวางโดยมีหน่วยงานราชการช่วยเหลือและส่งเสริมคือการประปาส่วนภูมิภาค(กรมโยธาธิการ) การประปาเทศบาลและสุขาภิบาล ในปี 2552 มีกำลังการผลิต 247,470 ลูกบาศก์เมตร มีจำนวนผู้ใช้ทั้งสิ้น 43,704 ราย สำหรับเขตชุมชนใหญ่ ๆ ที่มีการประปาใช้ ได้แก่
-หน่วยโพธิ์พระยา มีกำลังการผลิต 360 ลบ.ม./ชม. เขตบริการตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ และตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี รวมกับหน่วยดาบฟ้าฟื้น มีกำลังการผลิต510 ลบ.ม./ชม. เขตบริการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และหน่วยรางกระทุ่ม มีกำลังการผลิต 260 ลบ.ม./ชม. เขตบริการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
- หน่วยสวนแตง มีกำลังการผลิต 50 ลบ.ม./ชม. เขตบริการตำบลสวนแตง
- หน่วยท่าเสด็จ มีกำลังการผลิต 30 ลบ.ม./ชม. เขตบริการตำบลสระแก้ว
- หน่วยบางปลาม้า - โคกคราม มีกำลังการผลิต 130 ลบ.ม./ชม. เขตบริการตำบลบางปลาม้าและตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า
4) การสื่อสารและโทรคมนาคม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีการสื่อสารที่ทันสมัยมากจังหวัดหนึ่ง ซึ่งจำแนกรายละเอียด คือ
- โทรศัพท์ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ติดตั้งระบบโทรศัพท์ครอบคลุมพื้นที่ครบทุกอำเภอ มีชุมสายให้บริการแก่ประชาชนจำนวน 6 ศูนย์ ได้แก่
1. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาสุพรรณบุรี ประกอบด้วย ชุมสายสุพรรณบุรี ชุมสายรั้วใหญ่ ชุมสายโพธิ์พระยา ชุมสายสวนแตง ชุมสายท่าเสด็จ ชุมสายบางปลาม้า ชุมสายสาลี ชุมสายดอนตาล ชุมสายบ้านบัวคลี่ ชุมสายยิ่งรวย ชุมสายตลิ่งชัน ชุมสายบ้านไผ่ขวาง ชุมสายท่าระหัด หมู่ที่ 4 ชุมสายไผ่กองดิน หมู่ที่ 3
2. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาสองพี่น้อง ประกอบด้วย ชุมสายสองพี่น้อง ชุมสายทุ่งคอก ชุมสายบางสาม ชุมสายดอนมะนาว ชุมสายบางเลน หมู่ที่ 2
3. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาอู่ทอง ประกอบด้วย ชุมสายอู่ทอง ชุมสายสระยายโสม ชุมสาย มหาวิทยาลัยณิวัฒนา ชุมสายจร้าเก่า ชุมสายดอนมะเกลือ ชุมสายดอนคา ชุมสายบ้าน หนองโดก ชุมสายสวนแตง หมู่ที่ 1 ชุมสายจระเข้สามพัน หมู่ที่ 13
4. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาเดิมบางนางบวช ประกอบด้วย ชุมสายเดิมบางนางบวช ชุมสายสามชุก ชุมสายวัดน้ำพุ ชุมสายวังลึก ชุมสายบึงฉวาก ชุมสายปากน้ำ ชุมสายราชมงคล ชุมสายเขาดิน ชุมสายนางบวช ชุมสายหนองผักนาก
5. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาดอนเจดีย์ ประกอบด้วย ชุมสายดอนเจดีย์ ชุมสาย ศรีประจันต์ ชุมสายสระกระโจมเขาดิน ชุมสายวังหว้า ชุมสายวังพลับ ชุมสายโพธิ์ศรีเจริญ ชุมสายไร่ รถหมู่ที่ 6
6. ศูนย์บริการลูกค้าสาขาด่าน ช้าง ประกอบด้วย ชุมสายด่านช้าง ชุมสายบ่อกรุ ชุมสายหนองหญ้าไซ ชุมสายหนองมะค่าโมง หมู่ที่ 3 ชุมสายวังคัน หมู่ที่ 1 ชุมสายวังคัน หมู่ที่ 3 ชุมสายวังคัน หมู่ที่ 4 ชุมสายด่านช้าง หมู่ที่ 2 ชุมสายหนองโพธิ์ หมู่ที่ 12
การไปรษณีย์โทรเลข มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 16 แห่งให้บริการด้านสื่อสารไปรษณีย์และโทรคมนาคมในประเทศ และต่างประเทศปีงบประมาณ 2552 มีการไปรษณีย์ (รับฝาก) จำนวน
5,791,997 ชิ้น