องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สุพรรณบุรี
ติดต่อเราเอกสาร/รายงานข่าวสารและกิจกรรมเกี่ยวกับ อบจ.หน้าแรก

เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม
สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง
 
นายบุญชู จันทร์สุวรรณ
นายก อบจ.สุพรรณบุรี
 
นายบุญชู จันทร์สุวรรณ
นายก อบจ.สุพรรณบุรี
ประวัตินายก รายการ อบจ.สัมพันธ์
ข้อมูลพื้นฐาน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรและแหล่งน้ำ

            ดิน สภาพของดินในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี มีความเหมาะสมกับการทำนา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผลต่าง ๆการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถาวรสำหรับการปศุสัตว์ ซึ่งพิจารณาจากคุณสมบัติของดินทั้งกายภาพและเคมี ในด้านเนื้อดิน ความลึกของดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำ ชนิดของแร่ดิน ดินเหนียวและปริมาณแร่ธาตุของดิน

            แหล่งน้ำ แม่น้ำสายสำคัญและเป็นประโยชน์ ต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประชากรในจังหวัดได้แก่แม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี และห้วยกระเสียว

            1. แม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำสุพรรณบุรี แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ไหลลงทิศใต้เข้าสู่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่อำเภอเดิมบางนางบวชแล้วไหลผ่านอำเภอสามชุก อำเภอศรีประจันต์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้าและอำเภอสองพี่น้องตามลำดับ ปลายน้ำของแม่น้ำสายนี้จะไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสาคร

            2. ห้วยกระเสียว เป็นสาขาที่สำคัญของแม่น้ำสุพรรณบุรี เกิดจากลำน้ำต่าง ๆ ที่ไหลมาจากทางใต้ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานีและเขาพุกำ รวมทั้งเขาพระ ทุ่งดินดำตอนใต้ลงมา ทางน้ำเหล่านี้จะไหลมารวมกันที่ด้านตะวันตกของอำเภอด่านช้าง กลายเป็นห้วยกระเสียวแล้วไหลมาทางตะวันออกผ่านที่ราบสูงลงสู่แม่น้ำสุพรรณบุรี ที่อำเภอสามชุก เป็นลำนำที่มีน้ำไหลตลอดปี

            ป่าไม้ จังหวัดสุพรรณบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 3,348,755 ไร่ ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 7 แห่ง เนื้อที่รวมกันทั้งหมด 825,102.52 ไร่ หรือร้อยละ 24.64 ของพื้นที่จังหวัด โดยมีพื้นที่ป่าธรรมชาติกระจายอยู่ทางตอนเหนือและทางด้านตะวันตก ภายในเขตอำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภออู่ทอง และอำเภอสองพี่น้อง ชนิดป่ามีตั้งแต่ป่าทุ่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าสนเขา ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจได้แก่ เต็ง รัง มะค่าโมง มะค่าแต้ พะยูง ชิงชัน ประดู่ตะเคียนทอง ยมหอม เป็นต้น

            แร่ธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรีมีปริมาณแร่ธาตุแต่ไม่มากนัก พบแร่สำคัญบางชนิดเท่านั้นเช่น ดีบุก พบบริเวณเขาโยตุงทางตอนเหนือของอำเภอด่านช้าง นอกจากนี้ยังพบใยหินแกรนิต และหินปูนใช้ในการก่อสร้างบริเวณเขาใหญ่ทางตะวันตก และเขาทางด้านตะวันออกและตะวันตก ระหว่างเส้นทางอู่ทองถึงอำเภอพนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี รวมทั้งบริเวณเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง กิจการด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของจังหวัดสุพรรณบุรี จึงมีขอบเขตจำกัด โดยจะมีเฉพาะการทำเหมืองแร่หินปูน หินอุตสาหกรรมเท่านั้น

             การกสิกรรม จากการที่พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีการชลประทานอย่างทั่วถึง ประกอบกับสภาพดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าว การเพาะปลูกข้าว การเพาะปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าว ฟ่าง และพืชอื่น ๆ
Copyright © 2019 All rights reserved.  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี    สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์  4,035,765